วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติเขาสก สุราษฎร์ธานี

อุทยานแห่งชาติเขาสก


อุทยานแห่งชาติเขาสก ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2523 มีพื้นที่ 645.52 ตารางกิโลเมตร หรือ 403,450 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นภูเขาดิน และภูเขาหินปูนสูงสลับซับซ้อน มีแนวหน้าผาสูงชัน ด้านทิศเหนือเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เกิดจากการก่อสร้างเขื่อนรัชชประภา มีป่าไม้และสัตว์ป่าอุดมสมบูรณ์ พันธุ์ไม้หายากที่พบในเขตอุทยานฯ ได้แก่ บัวผุด เป็นดอกไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นอยู่บนพื้นดิน เส้นผ่าศูนย์กลางดอกประมาณ 10-25 นิ้ว ส่วนสัตว์ที่หายากที่น่าสนใจได้แก่ กบทูด และปลามังกร

สถานที่เที่ยวในอุทยานแห่งชาติเขาสก สุราษฎร์ธานี


น้ำตกวังหิน
เป็นน้ำตกที่ไหลมารวมกับคลองสกที่บริเวณบางหัวแรด และในคลองสกด้านล่างของน้ำตกลงประมาณ 20 เมตร จะมีหินก้อนใหญ่ๆวางเรียงรายกันอยู่ในลำคลองเป็นจำนวนมากซึ่งสามารถจะเดิน ข้ามคลองไปได้ จุดนี้เรียกว่า บางวิ่งหิน เป็นจุดที่มองดูสวยงามอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 2.8 กิโลเมตร รถยนต์สามารถเข้าไปถึงได้

ตั้งน้ำ
มีลักษณะเป็นภูเขาสูงที่ถูกกัดเซาะจนขาดออกจากกัน ทำให้กลายเป็นหน้าผาหันหน้าเข้าหากัน มีคลองสกไหลลอดผ่านทางเบื้องล่าง เป็นวังน้ำลึกมาก มีปลาชุกชุม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 6 กิโลเมตร ห่างจากน้ำตกวังหินประมาณ 3.2 กิโลเมตร ต้องเดินทางเท้าประมาณ 3.2 กิโลเมตร

น้ำตกโตนกลอน
เป็นน้ำตกที่มีความสวยงาม เกิดจากคลองสก ลักษณะเป็นน้ำตกชั้นเดียวดิ่งลง น้ำไหลแรงตลอดทั้งปี มีลานหินสำหรับพักผ่อนอยู่บนชั้นน้ำตก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯ ประมาณ 9 กิโลเมตร

น้ำตกโตนไทร
เป็นน้ำตกที่ไม่สูงมากนัก บริเวณน้ำตกมีหินใหญ่ตั้งเรียงรายเต็มไปหมด แต่ก็ช่วยให้น้ำตกมีความสวยงามขึ้นไปอีก อยู่ในลำคลองห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 11 กิโลเมตร ห่างจากน้ำตกโตนกลอนประมาณ 6 กิโลเมตร

น้ำตกธารสวรรค์

เป็นน้ำตกที่เกิดจากยางพูลจืด ซึ่งไหลลงสู่คลองสก เป็นน้ำตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง น้ำตกลงมาจากหน้าผาสูงชันพุ่งโค้งแบบรุ้งกินน้ำ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 5 กิโลเมตร ห่างจากตั้งน้ำประมาณ 3 กิโลเมตร

น้ำตกสิบเอ็ดชั้น

เป็นน้ำตกที่เกิดจากคลองบางแลน ไหลตกลงมาเป็นชั้นๆลดหลั่นลงมาตามร่องหน้าผา เป็นรูปขั้นบรรได 11 ชั้น มีน้ำไหลตลอดปีไม่ขาดสาย ชั้นล่างสุดของน้ำตกจะมีวังสำหรับลงเล่นน้ำได้ และมีโขดหินเรียงรายอยู่ทั่วไปเหมาะสำหรับการนั่งพักผ่อน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 4 กิโลเมตร ต้องเดินโดยทางเท้า

น้ำตกแม่ยาย
เป็นน้ำตกที่รถสามารถเข้าถึงได้ เพราะตั้งอยู่ติดกับถนนสายสุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า ตรงกิโลเมตรที่ 113 เป็นน้ำตกชั้นเดียวสูงประมาณ 30 เมตร สวยงามมาก โดยเฉพาะหน้าฝนน้ำจะเต็มหน้าผาที่สูงชันกระจัดกระจายแตกฟองขาวโพลน อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 5.5 กิโลเมตร

ถ้ำค้างคาว
เป็นถ้ำที่มีค้างคาวจำนวนมากอาศัยอยู่ ลักษณะภายในถ้ำเป็นเหมือนห้องโถงขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยที่สวยงาม อยู่ห่างจากที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ป่าอุทยานฯที่ ขส.4 (คลองแปะ) ประมาณ 3 กิโลเมตร อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานฯประมาณ 21 กิโลเมตร

เขื่อนเชี่ยวหลาน
เป็นเขื่อนเอนกประสงค์ที่สร้างปิดกั้นคลองพระแสง ตัวเขื่อนเป็นหินทิ้งแกนดินเหนียว สูง 95 เมตร ระดับเขื่อนสูง 100 เมตร อ่างเก็บน้ำครอบคลุมพื้นที่ 165 ตารางกิโลเมตร ภายในอ่างมีเกาะมากมายกว่า 100 เกาะ มีทัศนียภาพที่สวยงาม โดยเฉพาะบริเวณช่องแคบทากาเลาะ เขื่อนเชี่ยวหลานอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 50 กิโลเมตร

การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติเขาสก สุราษฎร์ธานี
จากตัวเมืองสุราษฎร์ธานีใช้เส้นทางสุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า (ทางหลวงหมายเลข 401) ถึง กม. ที่ 109 มีแยกขวาไปอีก 1.5 กิโลเมตร ถึงบริเวณที่ทำการ หรือจากสถานีรถไฟ อ.พุนพิน สุราษฎร์ธานี มีรถประจำทางสายพุนพิน-ภูเก็ต ลงรถบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 109 แล้วเดินหรือใช้บริการจักรยานยนต์รับจ้างเข้าสู่ที่ทำการอุทยานฯ





สัญจรเขาสก-หมู่เกาะชุมพร ตอนที่ 1


ประเพณีตักบาตรดอกไม้ จังหวัดสระบุรี

ประเพณีตักบาตรดอกไม้


ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรดอกไม้
ตามความเชื่อของชาวพุทธ การตักบาตรดอกไม้เป็นการสร้างอานิสงส์ที่สูงส่งอย่างยิ่ง โดยปรากฎตาม พุทธตำนานว่า พระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์แห่งกรุงราชคฤห์ ทรงโปรดปรานดอกมะลิมาก ในแต่ละวันจะรับสั่งให้นายมาลาการนำดอกมะลิสดมาถวายถึง วันละ 8 กำมือ

วันหนึ่งขณะที่นายมาลาการกำลังเก็บดอกมะลิ ได้พบเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์อีกจำนวนหนึ่งเสด็จออกบิณฑบาตร นายมาลาการสังเกตุเห็นพรรณรังษี ฉายประกาย รอบ ๆ พระวรกาย
ทำให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาพระพุทธองค์อย่างยิ่ง นายมาลาการตัดสินใจนำดอกมะลิที่มีไปถวายแด่ พระพุทธเจ้า พร้อมกันนั้นก็ตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าวของทุกสิ่งที่พระเจ้าพิมพิสารทรงมอบให้เพียงเพื่อยังชีพในภพนี้เท่านั้น แต่การนำดอกไม้ถวายบูชาแก่พระพุทธองค์ สร้างอานิสงส์ได้ทั้งภพนี้และภพหน้า
หากถูกประหารชีวิตเพราะไม่ได้ถวายดอกมะลิก็ยินยอม

ครั้นภรรยานายมาลาทราบความ ก็เกรงกลัวว่าจะต้องโทษที่สามีไม่ปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเจ้าพิมพิสาร ก็หลบหนีออกจากบ้านไป แต่หลังจากที่พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบกลับพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก และได้ปูนบำเหน็จรางวัล ความดีความชอบแก่นายมาลาการ นับแต่นั้นมาชีวิตของนายมาลาการก็อยู่อย่างมีความสุข


ชาวอำเภอพระพุทธบาทได้ยึดถือประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีสำคัญ ปฏิบัติสืบต่อกันมา เป็นประจำทุกปี และกำหนดเอาวันเข้าพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เป็นวันประเพณีตับาตรดอกไม้

ในวันนั้น เมื่อพระภิกษะสงฆ์รับบิณฑบาตรดอกไม้จากพุทธศาสนิกชน แล้วนำออกมาสักการะพระเจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำไป สักการะบูชาพระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ที่บรรจุพระบรมพระสารีริกธาตุ และเข้าโบสถ์ประกอบพิธีสวดอธิษฐานเข้าพรรษา

ประเพณีตักบาตรดอกไม้เป็นประเพณีสำคัญที่อยู่คู่กับวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหารมาช้านาน พี่น้องประชาชนชาวพระพุทธบาทและใกล้เคียง จะถือเอาวันเข้าพรรษาของทุกปี (ตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 8) เป็นวันตักบาตรดอกไม้

และตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จังหวัดสระบุรี ได้เพิ่มจำนวนวันตักบาตรดอกไม้ จาก 1 วัน เป็น 3 วัน มีพิธีตักบาตรดอกไม้วันละ 2 รอบ คือ รอบเช้าเวลา 10.00 น. รอบบ่าย เวลา 15.00 น. ปีนี้ประเพณีตักบาตรดอกไม้ตรงกับวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2548 ในวันแรกของการจัดงานคือวันที่ 20 กรกฎาคม 2548 เป็นพิธีบวงสรวงดวงพระวิญญาณ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอยู่ในอาณาบริเวณพระพุทธบาท

ภาคค่ำขบวนพยุหยาตราสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ขบวนรถบุปผชาติ การแสดงศิลปพื้นบ้าน วัฒนธรรม
และขบวนต่างๆ จะเริ่มเคลื่อนออกจากหน้าสำนักงานเทศบาลตำบลพระพุทธบาท ไปตามถนนพหลโยธินและเลี้ยวเข้าบริเวณวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร โดยจะมีพิธีเปิดงานพิธีตักบาตรดอกไม้ในภาคค่ำดอกไม้ที่ใช้ตักบาตรแด่พระภิกษุสงฆ์นั้นจะต้องเป็น “ดอกเข้าพรรษา” เท่านั้น

ดอกเข้าพรรษา เป็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้าย ๆ ต้นกระชาย หรือ ขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศษ มีดอกสีเหลือง สีขาวและสีน้ำเงินม่วง ต้นดอกไม้เข้าพรรษานี้จะ ขึ้นตามไหล่เขาโพธิ์ลังกา หรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวง และเขาพุใกล้ ๆ กับรอยพระพุทธบาท และจะผลิดอกเฉพาะช่วงเข้าพรรษาเท่านั้น จนชาวบ้านเรียกชื่อให้เป็นที่เหมาะสมว่า “ต้นเข้าพรรษา"

ดอกไม้เข้าพรรษาที่ชาวพุทธออกไปเก็บนั้น ดอกสีเหลือง ดอกสีขาว ดูจะหาง่ายไม่ลำบากยากเย็นนัก
แต่การเก็บดอกไม้เข้าพรรษาสีม่วง เขาถือกันว่าถ้าใครออกไปเก็บดอกไม้เข้าพรรษาสีม่วง มาใส่บาตรได้
คนนั้นจะได้รับบุญกุศลมากมายกว่าการนำดอกไม้สีอื่น ๆ มาตักบาตร

หลังจากที่พระภิกษุสงฆ์เดินรับบิณฑบาตรจากพุทธศาสนิกชนแล้ว จะนำดอกไม้ไปสักการะ “รอยพระพุทธบาท” พระเจดีย์จุฬามณี อันเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วจำลองขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำไปสักการะพระเจดีย์มหาธาตุองค์ใหญ่ ซึ่งชาวพุทธถือว่าเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

พระเจดีย์องค์นี้ ทรงเหมือนกับองค์พระธาตุพนม เป็นการคารวะต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และระหว่างที่พระภิกษุเดินลงจากพระมณฑปนั้น พุทธศาสนิกชนก็จะนำเอาน้ำสะอาดมาล้างเาพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งถือว่าน้ำที่ได้ชำระล้างเท้าให้พระภิกษุสงฆ์นั้นเสมือนหนึ่งได้ชำระล้างบาปของตนด้วย

สำหรับ การจัดงานประพณีตักบาตรดอกไม้ในวันที่สองของการจัดงาน จะมีพิธีตักบาตรดอกไม้
2 รอบคือ เวลา 10.00 น. และ 15.00 น. ส่วนในวันสุดท้ายของการจัดงาน ซึ่งตรงกับวันเข้าพรรษา
จะมีพิธีถวายเทียนพรรษาพระราชทาน และเทียนพรรษา ณ อุโบสถวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร

ประเพณีตักบาตรดอกไม้และถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2548 ยังมีกิจกรรมอื่นๆที่น่าสนใจ
เช่น การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์การประกวดเทพีตักบาตรดอกไม้
การจัดนิทรรศการตักบาตรดอกไม้ การประกวดจัดดอกไม้ใบตอง และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย

“ตักบาตรดอกไม้” นับเป็นประเพณีอันเก่าแก่ ที่ควรค่าแห่งการอนุรักษ์ยิ่งเพราะหนึ่งปีมีหนึ่งครั้ง
และมีเพียงแห่งเดียวที่พระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร นอกจากชาวพุทธศาสนิกชน จะได้บุญกุศลอันยิ่งใหญ่
กับการถวายดอกเข้าพรรษาแด่พระภิกษุสงฆ์ แล้วยังตื่นตา ตื่นใจกับขบวนรถบุพชาติ ขบวนวัฒนธรรม
และการแสดงศิลปพื้นบ้านด้วย
ที่ขาดเสียมิได้คือ ความงดงามของดอกเข้าพรรษา ที่บานสะพรั่ง ทั่วทั้งวัดพระพุทธบาทตลอดทั้ง 3 วัน





ตักบาตรดอกไม้ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี


ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี

ประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี
อุบลราชธานี ดินแดนแห่งปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา เป็นถิ่นกำเนิดของพระอาจารย์ทางวิปัสนา คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นต้น กล่าวกันว่า เมือง อุบลราชธานีเป็นต้นรากแห่งการขยายพระพุทธศาสนาและวัดวาอาราม ให้แพร่หลายยิ่งกว่าในทุก หัวเมืองในภาคอีสาน




เดิมงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีจัดเฉพาะตามคุ้มวัดต่างๆ เท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2444 เมืองอุบลราชธานีจัดงานบุญบั้งไฟ โดยทุกคุ้มจะนำบั้งไฟมารวมกันที่วัดหลวง ริมแม่น้ำมูล มีการแห่บั้งไฟไปรอบเมืองและจุดขึ้นไปบนท้องฟ้าทำให้เกิดอุบัติเหตุ บั้งไฟตกลงมา ถูกชาวบ้านตายในงาน มีการชกต่อย ตีรันฟันแทงกัน ก่อเหตุวุ่นวายไปทั้งงาน กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ สมัยนั้น ให้ยกเลิกงานประเพณีบุญบั้งไฟเสีย แล้วให้มาจัดงาน ประเพณีแห่เทียนพรรษาแทน ในสมัยแรกๆ นั้นไม่มีการประกวดเทียนพรรษา แต่ชาวบ้านจะกล่าว ร่ำลือกันไปว่า เทียนคุ้มวัดนั้นงาม เทียนคุ้มวัดนี้สวย

ผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ จึงเห็นควรให้มีการประกวดเทียนพรรษาก่อน แล้วแห่รอบ เมือง ก่อนจะนำไปถวายพระที่วัด


จากงานประจำปีท้องถิ่นสู่งานประเพณีระดับชาติ
การจัดงานประเพณีแห่เทียนพรรษา จังหวัดอุบลราชธานี มีการจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดมา โดยชาวบ้านในแต่ละคุ้มวัด ก็จัดตกแต่งต้นเทียนของวัดตนให้สวยงาม นำมารวมกันที่บริเวณทุ่งศรีเมืองเพื่อประกวดแข่งขันกัน จากงานของชาวบ้าน ก็พัฒนามาสู่การสนับสนุนอย่างจริงจังจากส่วนราชการ พ่อค้า ห้างร้านเอกชน ร่วมกับประชาชน ทายกทายิกาคุ้มวัดต่างๆ และใน ปี พ.ศ. 2519 จังหวัดอุบลราชธานีได้เชิญ องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท. ในขณะนั้น) มาสังเกตการณ์ และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาทางจังหวัดอุบลราชธานี ก็ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้งานประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นงานประเพณีระดับชาติ โดยเฉพาะในปีท่องเที่ยวไทย (Amazing Thailand 2541-2542) งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็น 1 ในงานประเพณีที่ถูกโปรโมตเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวต่างชาติ

เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเทียนหลวงมาเป็นเทียนนำชัยขบวนแห่ แล้วจึงนำไปถวายยังอารามหลวงในจังหวัดอุบลราชธานี หมุนเวียนไปเป็นประจำทุกปี

งานประเพณีแห่เทียนพรรษา เป็นงานประเพณีที่รวมความผูกพันของชุมชนท้องถิ่น โดยเริ่มตั้งแต่การที่ชาวบ้านร่วมกันบริจาคเทียนเอามาหลอม หล่อเป็นเทียนเล่มใหญ่เล่มเดียวกัน





ประเพณีแห่เทียน อุบลราชธานี

งานประเพณีการละเล่นผีตาโขน จังหวัดเลย

ประเพณีผีตาโขน
ช่วงเวลา
          ช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน ของทุกปี



ความสำคัญ
          การละเล่นผีตาโขนมีมานานแล้วแต่ไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ชาวบ้านมีความเชื่อว่าการแห่ ผีตาโขน เกิดขึ้นเมื่อครั้งที่พระเวสสันดรและ นางมัทรี กำลังจะออกจากป่ากลับสู่เมือง บรรดาผีป่า และสัตว์นานาชนิด มีความอาลัยจึงแฝงตนมากับชาวบ้าน เพื่อมาส่งพระเวสสันดร และนางมัทรีกลับเมืองซึ่งเรียกกันว่า ผีตามคน หรือ ผีตาขน


พิธีกรรม
          มีการจัดทำพิธี 2 วัน คือ วันแรก (วันโฮม) ขบวนผีตาโขนจะแห่รอบหมู่บ้านตั้งแต่เช้ามืด เป็นการทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาอยู่ที่วัด ในวันที่สองเป็นพิธีการแห่พระเวสสันดรและนางมัทรีเข้าเมือง โดยสมมุติให้วัดเป็นเมือง สำหรับวันที่สองของงานนี้ ชาวบ้านยังได้นำบั้งไฟมาร่วมในขบวนแห่เพื่อเป็นพิธีขอฝนโดยแห่รอบวัด 3 รอบ ในขณะที่แห่อยู่นั้นเหล่าผีตาโขนทั้งหลายก็จะละเล่นหยอกล้อผู้คนไปเรื่อย ๆ เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนาน หลังจากเสร็จพิธีการแห่แล้วบรรดาผู้ละเล่นผีตาโขนจะนำเครื่องเล่นผีตาโขน และอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบพิธีไปล่องลงแม่น้ำหมัน และในตอนค่ำของวันเดียวกัน จะมีการฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์
ผีตาโขน จะแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ผีตาโขนใหญ่และผีตาโขนเล็ก
        ผีตาโขนใหญ่ จะสานมาจากไม่ไผ่มีขนาดใหญ่กว่าคนประมาณ 2 เท่าแล้วจะประดับตกแต่งหน้าตาด้วยเศษวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ในการทำผีตาโขนใหญ่ในแต่ละปีจะทำ 2 ตัวคือชายหนึ่งตัว และหญิงอีกหนึ่งตัวเท่านั้น ผู้ที่มีหน้าที่ทำผีตาโขน ใหญ่จะต้องได้รับอนุญาตจากผีหรือเจ้าก่อน และเมือได้รับอนุญาต แล้วต้องทำผีตาโขนใหญ่ทุกๆ ปีหรือต้องทำติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีเพราะว่าคนที่ไม่ได้รับอนุญาตก็จะไม่มีสิทธิ์ทำผีตาโขนใหญ่ เวลาแห่จะต้องมีคนเข้าไปอยู่ในตัวหุ่น
       ผีตาโขนเล็ก  ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ก็มีสิทธิ์ทำผีตาโขนเล็กเพื่อเข้าร่วมสนุกสนานกันได้ทุกคน การเล่นของผีตาโขนเล็กค่อนข้างผาดโผนผู้หญิงจึงไม่ค่อยนิยมเข้าร่วม
การแต่งกายของผู้ที่เข้าร่วมในพิธีแห่ผีตาโขน จะแต่งกายคล้ายกันกับผีปีศาจ ที่สวมศีรษะด้วยที่นึ่งข้าวเหนียวหรือว่ากระติ๊บข้าวเหนียวนั่นเอง และใส่หน้ากากที่ทำด้วยกาบมะพร้าวแกะสลัก มีการละเล่นร้องรำทำเพลงกันอย่างสนุกสนานในขบวนแห่


สาระ
          การละเล่นผีตาโขนนับว่าเป็นสิ่งที่แปลกสำหรับผู้พบเห็น มีการนำเอาก้านทางมะพร้าวที่แห้ง นำมาตกแต่งเป็นหน้ากาก โดยการเจาะช่องตา จมูก ปาก และใบหู นำเอาหวดนึ่งข้าว โดยกดดันหวดให้เป็นรอยบุ๋มหงายปากหวดขึ้น เพื่อสวมศีรษะแต่งแต้มสีสันให้น่าดู ส่วนชุดที่สวมใส่ทำมาจากเศษผ้าหลากหลายสีมาเย็บต่อกัน อุปกรณ์ในการละเล่นมี 2 ชิ้น คือ "หมากกระแหล่ง" มีไว้เพื่อเขย่าทำให้เกิดเสียงดังในเวลาเดิน และ "อาวุธประจำกาย" ผีตาโขนส่วนมากจะใช้ผู้ชายแสดงเนื่องจากต้องกระโดดโลดเต้นไปเรื่อย ๆ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ผู้หญิงเป็นตัวแสดง นอกจากเข้าร่วมในงาน "บุญหลวง" ยังได้เข้าร่วมขบวนแห่ในวันเปิดงานกาชาดดอกฝ้ายบานมะขามหวานเมืองเลย โดยขบวนผีตาโขนจะเดินรอบเมืองเพื่อโชว์ให้แขกบ้านแขกเมืองได้เห็น



เที่ยวงาน ผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย


งานประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร

งานประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร  
กำหนดการจัดงาน : 13 - 15 พฤษภาคม 2554   
สถานที่ : ณ บริเวณสวนสาธารณะพญาแถน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร  

 
ขอเชิญทุกท่านเที่ยวงานประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร ในวันที่ 13 - 15 พฤษภาคม 2554 ณ บริเวณสวนสาธารณะพญาแถน อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร เพื่อเป็นการร่วมกันสืบสานประเพณีพื้นบ้านของชาวอีสาน  
 
ภายในงาน พบกับกิจกรรมต่างๆ มากมาย ได้แก่  
     วันที่ 13 พฤษภาคม 2554 ชมการประกวดกองเชียร์  
     วันที่ 14 พฤษภาคม 2554 ชมกาประกวดขบวนรำเซิ้ง และบั้งไฟ ที่สวยงามตระการตา  
     วันที่ 15 พฤษภาคม 2554 ชมการจุดบั้งไฟ ณ ฐานจุดบั้งไฟ สวนสาธารณะพญาแถน  
 
งานประเพณีบุญบั้งไฟ จังหวัดยโสธร หรือเรียกอีกอย่างว่าประเพณีบุญเดือนหก ซึ่งเป็นประเพณีพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต และความเชื่อทางศาสนาในเรื่องการขอฝนจากพญาแถน ด้วยการทำบั้งไฟจุดขึ้นไปบนฟากฟ้า ซึ่งพญาแถน ได้ชื่อว่าเป็นเทพแห่งฝน เพื่อขอให้พญาแถนได้ดลบันดาลให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ช่วยให้สรรพสิ่งบนผืนโลกได้ดำเนินวิถีชีวิตไปตามครรลองที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะผู้คนบนผืนดินอีสาน ที่มีอาชีพเกษตรกรรมทำไร่ทำนาหล่อเลี้ยงชีวิต น้ำฝนจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยในช่วงก่อนการทำนา ชาวอีสานจะจัดขึ้นประเพณีนี้ขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปี โดยจะกำหนดให้เป็นวันสุดสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน และมีการจัดต่อเนื่องมาเป็นเวลาช้านาน
 
งานวันแรกจะมีคณะบั้งไฟทั้งหลาย แห่ขบวนเซิ้งขอรับบริจาคเงินซื้ออาหาร เครื่องดื่ม และสิ่งของจำเป็นในการร่วมทำบุญ สำหรับวันที่สอง จะมีขบวนแห่บั้งไฟ และขบวนฟ้อนรำ โดยจะมีการแข่งขันการตกแต่งบั้งไฟและการจัดขบวนที่สวยงาม รวมทั้งการแข่งขันท่าฟ้อนรำในจังหวะต่างๆ ด้วย ส่วนวันที่สาม จะเป็นวันจุดบั้งไฟ โดยมีการแข่งขันการขึ้นสูงของบั้งไฟ และการลอยอยู่ในอากาศได้นานที่สุด
 
พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์นี้ ชาวอีสานได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ตามตำนานที่เล่าขานกันมาว่า เมื่อครั้งพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้าถือชาติกำเนิดเป็นพญาคางคก ได้อาศัยอยู่ใต้ร่มโพธิ์ใหญ่ในเมืองพันทุมวดี ด้วยเหตุใดไม่แจ้ง พญาแถน เทพเจ้าแห่งฝน โกรธเคืองโลกมนุษย์ จึงแกล้งไม่ให้ฝนตกนานเป็นเวลาถึง 7 เดือน ทำให้เกิดความยากลำบากอย่างแสนสาหัส ทั้งมวลมนุษย์ พืช และ สัตว์ จนกระทั่งพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก พวกที่รอดตายก็ได้มารวมกลุ่มอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์ใหญ่กับพญาคางคก สรรพสัตว์ทั้งหลายจึงได้หารือกันเพื่อจะหาวิธีการปราบพญาแถน ในที่นั้นให้ตกลงให้พญานาคียกทัพไปรบกับพญาแถน แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ จากนั้น จึงให้พญาต่อแตนยกทัพไปปราบ แต่ก็พ่ายแพ้กลับมาอีกเช่นกัน ทำให้พวกสรรพสัตว์ทั้งหลายเกิดความท้อถอย หมดกำลังใจและสิ้นหวัง ได้แต่รอวันตาย ในที่สุด พญาคางคกจึงขออาสาไปรบกับพญาแถน จึงได้วางแผนในการรบโดยปลวกทั้งหลายทำหน้าที่ก่อจอมปลวกขึ้นไปจนถึงเมืองพญาแถน เพื่อเป็นเส้นทางให้บรรดาสรรพสัตว์ทั้งหลายได้เดินทางไปสู่เมืองพญาแถนได้ ซึ่งมีมอด แมลงป่อง และตะขาบ ซ่อนตัวอยู่ตามกองฟืนที่ใช้หุงต้มอาหาร และอยู่ตามเสื้อผ้าไพร่พลพญาแถนเพื่อทำหน้าที่กัด ต่อย
 
หลังจากที่วางแผนเรียบร้อยแล้วนั้น กองทัพพญาคางคกก็เดินทางเพื่อปฏิบัติหน้าที่การรบ มอดทำหน้าที่กัดเจาะด้ามอาวุธ แมลงป่องและตะขาบกัดต่อยไพร่พลของพญาแถนจนเจ็บปวด ร้องระงมจนกองทัพระส่ำระสาย ในที่สุดพญาแถนจึงได้ยอมแพ้และตกลงทำสัญญาสงบศึกกับพญาคางคก ดังนี้
     1. ถ้ามวลมนุษย์จุดบั้งไฟขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อใด ให้พญาแถนสั่งให้ฝนตกในโลกมนุษย์ 
     
2. ถ้าได้ยินเสียงกบ เขียดร้อง ให้รับรู้ว่าฝนได้ตกลงมาแล้ว 
 
     3. ถ้าได้ยินเสียงสนู (เสียงธนูหวายของว่าว) หรือเสียงโหวด ให้ฝนหยุดตกเพราะจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว
หลังจากที่ได้สัญญากันแล้ว พญาแถนจึงได้ถูกปล่อยตัวไปและได้ปฏิบัติตามสัญญามาจนถึงบัดนี้



บุญบั้งไฟยโสธร


เกาะช้าง

 


ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อน ยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่เขาสลักเพชร มีสภาพป่าอันอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เกิดน้ำตก ลำธารหลายสาย ชายหาดสวย มีอยู่มากมาย ตามชายฝั่งตะวันตก ที่ดังๆ หน่อยก็ได้แก่ หาดทรายขาว หาดคลองพร้าว หาดไก่แบ้ ทั้งสามหาดมี รีสอร์ทตั้งอยู่เรียงรายริมหาดมากมาย ตั้งแต่ ราคา หลังละ 200 กว่า บาท ถึง 5,000 บาท ขึ้นไป นอกจากนี้บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง ยังมีเกาะเล็กๆ รายล้อม อันได้แก่ เกาะคลุ้ม เกาะเหลายา เกาะง่าม เกาะไม้ชี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะกระ เการัง เกาะมันนอก เกาะมันใน เกาะกระดาด เกาะหมาก เกาะขาม ฯลฯ ส่วนใหญ่ช่วงเทศกาล เกาะเล็กเกาะน้อยเหล่านี้มัก เสนอแต่แพคเก็จทัวร์ ปัจจุบันมีทัวร์รูปแบบต่างๆ มากมายนอกจากการเล่นน้ำทะเลเที่ยวเกาะ เช่น ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ขี่ช้างท่องไพร ล่องเรือ ตกปลา ไดหมึก หรือพักโฮมสเตย์กับหมู่บ้านชาวประมง

ด้วยความสมบูรณ์แห่งแหล่งท่องเที่ยว เราจึงสามารถท่องเที่ยวเกาะช้างได้ทุกฤดูกาล

-------------------------------------------

  สถานที่ท่องเที่ยวเกาะช้าง

 หาดทรายขาว
หาดทรายขาว เป็นหาดที่มีระยะทางยาว 6 กม. มีบังกะโลตั้งอยู่หลายแห่ง มีถนนรอบเกาะตัดชิดหาดมากที่สุด สามารถเล่นน้ำได้ แต่บางช่วงของหาดจะต่างระดับ ลึกตื้นไม่เท่ากัน  เลียบชายหาดมี โรงแรม รีสอร์ท ร้านค้า ร้านอาหาร ตั้งอยู่เรียงรายมากมาย ดูเหมือนว่าบริเวณนี้จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่าบริเวณอื่นๆ

  แนะนำรีสอร์ท

Ban Thai Resort
Ban San Sabay
Alina Resort
Koh Chang Lagoon
Koh Chang Cliff Beach
Keereeta Resort & Spa
Koh Chang Kacha Resort & Spa
Mac Resort
Koh Chang Hillside

 
 
 
-------------------------------------------

 หาดคลองพร้าว-แหลมไชยเชษฐ์
หาดคลองพร้าว เป็นหาดทรายที่มีความยาวมาก ติดต่อกับหาดไก่แบ้หาดทราย บริเวณนี้มีความลาดมากสามารถเล่นน้ำได้ มีบังกะโลให้เช่าพักหลายแห่ง ห้องพักที่ได้มาตรฐาน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม ไม่แพ้หาดทรายขาว หาดแห่งนี้นักท่องเที่ยวให้ความนิยมมาเล่นกิฬาทางน้ำ กิจกรรมชาตหาดเป็นจำนวนมาก ตอนเหนือสุดของอ่าวคลองพร้าว ติดต่อกับอ่าวไชยเชษฐ์ และแหลมไชยเชษฐ์ ซึ่งมีแหลมหิน มีทัศนียภาพสวยงาม แต่ไม่สามารถเล่นน้ำได้
สำหรับแหลมไชยเชษฐ์เป็นแหล่งที่ชมพระอาทิตย์ตกที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง

  แนะนำรีสอร์ท




  • AANA Resort&Spa
  • Koh Chang Resort
  • Coconut Beach
  • Koh Chang Tropicana
  • Amari Emeral Cove
  • Koh Chang Paradise
  • Ploytalay Resort
  • Koh Chang Resort



Ramayana
Boutique Resort
Panviman Koh Chang
Klongprao
Koh Chang Grand Cabana
Koh Chang Thai Garden Hill Resort
Balari Beach Resort
Remark Cottage

 
 
 เช่น รายละเอียดบทนำ , เนื้อหาของบทความ, เมนูหลัก เมนูย่อยชนิดสร้างหน้าใหม่ (P) เป็นต้น

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

พระธาตุพนม


พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ
ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ